เมนู

7. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตต-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 8)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 9)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์
ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[466] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้นกระทำราคะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.